วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอยอินทนนท์


ประวัติความเป็นมา
แต่เดิมนั้นดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยอ่างกา ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ทรงรักและหวงแหนป่าแห่งนี้เป็นอย่างมาก ทรงรับสั่งว่าหากพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ให้นำอัฐส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยด้วย ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ดอยอินทนนท์ ตามพระนามของผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดภูเขาสูง จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
สภาพภูมิประเทศ : ประกอบด้วยภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร โดยที่ป่าอินทนนท์เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล คลิกดู การเดินทางไปดอยอินทนนท์
สภาพอากาศ
เนื่องจากดอยอินทนนท์มีความสูงมากถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีโดยในเดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดแระมาณ 5.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิใกล้เคียงกับประเทศคานาดา และอุณหภูมิลดลงถึง -8 องศาเซลเซียส แต่อย่งไรก็ตามจะมีฝนตกบ้างในเดือนพฤศจิกายนและมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา
พรรณไม้และสัตว์ป่า

ป่าไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นบนยอดดอยสูงนั้นถือเป็นมรดกที่มีค่ามากในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งประกอบด้วยป่าไม้หลายชนิด เช่น ป่าดงดิบชื้น ป่าสน ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เป็นต้น ดอกไม้สีสวยงามหลายชนิดที่สร้างสีสันให้กับยอดดอยอิทนนท์ไม่น้อย อันได้แก่ ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้า นารีและกุหลาบป่า
สำหรับสัตว์ป่ามีจำนวนมากกว่า 446 สายพันธุ์ แต่สัตว์ที่โดดเด่นของดอยอินทนนท์กลับเป็นสัตว์เล็ก ๆ เช่นเต่าหกเป็นเต่าบกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริเวณชุ่มน้ำและลำห้วยตั้งแต่ กม. 31 ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติจนถึงระดับความสูง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางก็เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง รวมทั้งปลาค้างคาวที่พบตามสำน้ำ กม. 24-31
การดูนก
ตามลักษณะเด่นของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จะมีนกนานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีนกถึง 364 ชนิด จากจำนวน 915 ชนิดที่พบในประเทศไทย ซึ่งในอนาคตอาจจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้มีนกบางชนิดที่หาดูไม่ได้แล้งในที่แห่งอื่น เช่น นกศิวะหางสีตาล นกกระจี๊ดคอสีเทาและนกกินปลีหางยาวเขียว ชนิดย่อยดอยอ่างกา ซึ่งพบที่นี่แห่งเดียวในโลก หากมีลมาในช่วงเดือนตุลาคมป่าก็จะค฿กคักป็นพิเศษ ทั้งนกอพยพและนักดูนกด้วย จุดดูนกที่น่าสนใจ เช่น บริเวณ กม. 13 ซึ่งเป็นจุดดูนกกางเขนน้ำหลังดำ นกพญาไฟคดเทา นกนางแอ่นตะโพกแดง กม. 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนองน้ำหลังบ้านไผ่ไพรวัลย์มีคนพบนกอัญชันหางดำ นกที่พบได้ยากและเป็นที่ใฝ่ฝันว่าจะได้เห็นสักครั้งของนักดูนก

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

สรุป Bio Scan

ระบบ Bio Scan เครื่องสแกนลายมือ หรือฟิงเกอร์ สแกน (finger scan ) เป็นระบบที่ทำงานด้วยหลักเทคโนโลยีชีวภาค ใช้ลักษณะเฉพาะตัวของคนเราในการพิสูจน์ตัวบุคคลว่าคนคนนั้นคือใคร มีการนำไปใช้ควบคู่กัเทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง อาทิ ระบบลงเวลาทำงานด้วยการสแกนลายนิ้วมือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกอาคาร ระบบเปิด-ปิดประตูด้วยการสแกนลายมือ เป็นต้น การนำระบบสแกนลายมือไปใช้ที่เห็นได้ชัดในระบบบันทึกเวลา ซึ่งปัจจุบันวิธีบันทึกเวลา ได้แก่ ระบบเซ็นชื่อ นาฬิกาตอกบัตร เครื่องรูดบัตรแบบบาร์โค้ด แถบแม่เหล็กไร้สัมผัส และเครื่องสแกนลายมือ
ด้วยผลพวงเสียหายมหาศาลอย่างที่เห็น ทำให้อุตสาหกรรมการบิน การท่าอากาศยานทั่วโลกไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งานเพื่อลด และควบคุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการนี้ให้เหลือน้อยที่สุด ลดการใช้กำลังคนในการตรวจสอบตามมาตรการรักษาความปลอดภัยลง ลดเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบลง และใช้การตรวจสอบที่สามารถ "กรอง" ผู้โดยสารและสัมภาระให้ได้ปริมาณมากที่สุด ในระยะเวลาที่น้อยที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็มั่นใจที่สุดว่าตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ